วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ลักษณะคำประพันธ์

          บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”  กลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก  และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน   มีลักษณะการสัมผัสดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลักษณะคำประพันธ์ อิเหนา

 ๑.      สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับตายตัว ให้สังเกตจากแผนผัง วรรคที่ ๑อาจจะสัมผัสกับตำแหน่งใด
ตำแหน่งหนึ่ง ตามเส้นสัมผัสในวรรคที่ ๒
 ๒.     คำขึ้นต้นบท กลอนบทละครมีคำขึ้นต้นหลายแบบ และคำขึ้นต้นนั้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่ากับวรรคสดับ อาจจะมีเพียง ๒ คำก็ได้ คำขึ้นต้นมีดังนี้
-   มาจะกล่าวบทไป มักใช้เมื่อขึ้นต้นเรื่อง หรือกล่าวถึงเรื่องแทรกเข้ามา

-   เมื่อนั้น ใช้สำหรับผู้มียศสูง หรือผู้เป็นใหญ่ในที่นั้นตามเนื้อเรื่อง เช่นกษัตริย์ ราชวงศ์
-   บัดนั้น ใช้ขึ้นต้นสำหรับผู้น้อยลงมา เช่น เสนา ไพร่พล
ตัวอย่างบทละคร
                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                 เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี
                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น