วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ประวัติผู้เเต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2แห่งราชวงศ์จักรีมีพระนามเดิมว่า ฉิม  (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร)ครองราชย์ 7 กันยายนพ.ศ. 2352  ถึง 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2367พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่24กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวง-เมืองสมุทรสงครามขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นหลวงยกพระบัตรเมืองราชบุรี เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. 2352 – 2367ขณะมีพระชนมายุได้42 พรรษา
 พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งพระราชวงศ์จักรี ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระชนมายุ 16พรรษา  พระราชบิดาจึงโปรดสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศราสุนทร ครั้งที่พระชนมายุสมควรที่จะได้รับการอุปสมบท พระราชบิดาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย ตลอดรัชกาลที่1พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โดยเสด็จพระราชบิดาไปในการสงครามทุกครั้ง เมื่อพระชนมายุได้ 41 พรรษา พระราชบิดาได้ทรงสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็น “พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ดำรงพระเกียรติยศเป็น พระมหาอุปราช อยู่ 3 ปี ครั้งถึงปี พ.ศ.2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์นับเป็นองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย”ทรงครองราชย์อยู่ 15 ปี ถึงปี พ.ศ. 2367 ได้เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ 56พรรษากับ 5 เดือน พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้รูปครุฑ (ฉิมพลี เป็นชื่อวิมานพญาครุฑ ซึ่งพร้องกับชื่อเดิมของพระองค์ท่านว่า “ฉิม”) 


อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราชรัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้มีหลายเรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก

ความเป็นมา

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
       ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
           เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ลักษณะคำประพันธ์

          บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”  กลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก  และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน   มีลักษณะการสัมผัสดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลักษณะคำประพันธ์ อิเหนา

 ๑.      สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับตายตัว ให้สังเกตจากแผนผัง วรรคที่ ๑อาจจะสัมผัสกับตำแหน่งใด
ตำแหน่งหนึ่ง ตามเส้นสัมผัสในวรรคที่ ๒
 ๒.     คำขึ้นต้นบท กลอนบทละครมีคำขึ้นต้นหลายแบบ และคำขึ้นต้นนั้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่ากับวรรคสดับ อาจจะมีเพียง ๒ คำก็ได้ คำขึ้นต้นมีดังนี้
-   มาจะกล่าวบทไป มักใช้เมื่อขึ้นต้นเรื่อง หรือกล่าวถึงเรื่องแทรกเข้ามา

-   เมื่อนั้น ใช้สำหรับผู้มียศสูง หรือผู้เป็นใหญ่ในที่นั้นตามเนื้อเรื่อง เช่นกษัตริย์ ราชวงศ์
-   บัดนั้น ใช้ขึ้นต้นสำหรับผู้น้อยลงมา เช่น เสนา ไพร่พล
ตัวอย่างบทละคร
                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                 เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี
                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

เรื่องย่อ

            ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง
        ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ
        เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง
ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

ข้อคิดที่ได้รับ

๑. ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู เช่น ท้าวดาหารู้ว่าท้าวกะหมังกุหนิง จะยกทัพออกไปสู้รบโดยมิเกรงกลัวแต่อย่างใด
๒. ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความสำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ของตนเอง เช่น อิเหนาเมื่อทราบว่าเมืองดาหาเกิดศึก แม้จะไม่อยากไปช่วยแต่ความรักในวงศ์อสัญแดหวา จึงต้องยกทัพไปช่วย
๓. รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูด เมื่อพูดไว้อย่างไรก็ต้องทำตาม แม้ว่าจะมีใครมาบีบบังคับหรือฝืนคำพูดหรือมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นก็ไม่ควรเสียคำพูด เช่น ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาพระราชธิดาให้กับระตูจรกาไปแล้ว เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตมาขอนางให้เเก่โอรสของตน ก็ทรงปฏิเสธและยืนยันว่าได้ยกให้ระตูจรกาไปแล้วไม่อาจกลับคำ และพร้อมที่จะทำสงครามถ้าท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาโจมตี

๔. การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน เมื่อผิดพลาดไปก็สามารถอโหสิกรรมต่อกัน เช่น เมื่อทัพกะหมังกุหนิงยอมแพ้ อิเหนาก็ให้อภัยและยอมให้นำศพท้าวกะหมังกุหนิงและพระโอรสกลับไปทำพิธีที่เมืองได้
๕. ความรักและความหลงใหล ควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความหลงใหล ในเรื่องนี้    
วิหยาสะกำหลงใหลนางบุษบาแม้ได้เห็นเพียงภาพวาด และหากไม่ได้นางมาเป็นชายา จะต้องตาย ทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงต้องทำศึกกับเมืองดาหา ในที่สุดสองพ่อลูกก็จบชีวิตลง อิเหนาหลงใหลนางจินตะหราจนไม่ยอมอภิเษกกับคู่หมั้น ก่อให้เกิดความขัดเเย้งตามมามากมาย

บทละครเรื่องอิเหนา ให้คติเตือนใจเกี่ยวกับความทุกข์อันเกิดแต่เรื่องความรักและความหลงใหลได้ดียิ่ง

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

๑.     กิดาหยั่น  หมายถึง    ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน
๒.    กระยาหงัน หมายถึง  สวรรค์
๓.    เขนง         หมายถึง     เขาสัตว์สำหรับใส่ดินปืน
๔.    งาแซง       หมายถึง    ไม้เสี้ยมปลายแหลม วางเอนเรียงเป็นลำดับสำหรับป้องกัน
๕.    เจียระบาด หมายถึง    ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยที่หน้าขา
๖.    ชมพูนุช     หมายถึง    ทองเนื้อบริสุทธิ์
๗.    ดะหมัง      หมายถึง     เสนาผู้ใหญ่
๘.    ตุนาหงัน   หมายถึง     หมั้น
๙.    ไถ้              หมายถึง     ถุงสำหรับคาดเอวติดตัวไปในที่ต่างๆ
๑๐.   ประเสบัน หมายถึง     ที่พักของเจ้านาย
๑๑.   พันตู         หมายถึง      ต่อสู้ติดพัน
๑๒.  โพยมบน  หมายถึง     ท้องฟ้าเบื้องบน
๑๓.   ภัสม์ธุลี    หมายถึง       ผง ฝุ่น ละออง
๑๔.   มยุรฉัตร  หมายถึง      ฉัตรที่ทำหรือประดับด้วยหางนกยูง
๑๕.   ยิหวา       หมายถึง       ชีวา ใจ
๑๖.   วิหลั่น      หมายถึง     ค่ายที่ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย
๑๗.   อะหนะ    หมายถึง     ลูก
๑๘.   อัปรา       หมายถึง    ยอมแพ้
๑๙.   ดัสกร         หมายถึง      ศัตรู
๒๐.  กิริณี           หมายถึง     ช้าง

ความรู้เพิ่มเติม

นกที่ปรากฏในวรรณคดี เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้

๑.นกเบญจวรรณ เป็นสื่อแสดงความรักของชายและหญิง หรือ กวีกับคนรัก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกเบญจวรรณ

๒.นกนางนวล เป็นนกที่หากินเหนือผิวน้ำกินทั้งปู ปลา หอย ตลอดจนเมล็ด
และต้นอ่อนของพืช      
      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกนางนวล                    
 ๓. นกเค้าโมงหรือนกฮูก เป็นนกที่บอกให้ คนรู้ว่าภัยอันตรายจะมาเยือนแลจะ
ร้องบอก                             
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกเค้าโมง

๔.นกแขกเต้า   เป็นนกที่พบใน อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา กินอาหารพวก
เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้  ยอดไม้  น้ำหวาน และยังเป็นสัตว์คุ้มครอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกแขกเต้า

๕.นกแก้ว มีความสามารถในการปีนต้นไม้ ได้เก่งเป็นพิเศษ และนำมา
ฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกแก้ว


๖.นกคับแค ลำตัวเป็นสีขาว ปากแหลม ขายาว ชอบหากินตามแหล่งน้ำ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

๗.นกตระเวนไพร ลำตัวสีน้ำตาล ปากแหลม คอ อก และท้องสีขาว หางยาว
มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา      

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นกตระเวนไพร